วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การหาค่าเฉลี่ย

..สูตร (Formular)
.................เป็นสูตรที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยใช้สูตร Function ร่วมกับสูตรอื่นๆ
.................ในการป้อนสูตร ลงไปในเซลล์ สูตรทุกสูตรจะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย = เสมอ ถ้าไม่ใส่หรือใส่ผิดที่ โปรแกรมจะไม่คำนวณให้
................เครื่องหมายในการคำนวณ ใน Ms-Excel 97
.................1. เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ....(บวก)....,.... - (ลบ)........(คูณ)....,
.............................................................
 / (หาร)........(ยกกำลัง)....,....(เปอร์เซ็นต์)
ตัวอย่างการใช้งาน
=256+179
=222-81
=153*3.5
=145/2
=10^2
.................2. เครื่องหมายทางตรรกะ ได้แก่........ > (มากกว่า) ........ <.(น้อยกว่า)....... ,........ =.(เท่ากับ)......,.......................................................................................... <> (ไม่เท่ากับ)........ ,........ >= (มากกว่าหรือเท่ากับ)........ ,........ <= (น้อยกว่าหรือเท่ากับ)
วิธีการคำนวณในเซลล์
1. การหารวมผลหรือการบวก
.....................................วิธีที่ 1 : การใส่สูตรคำนวณลงในเซลล์ ( ตามตัวอย่างในตาราง ) ในช่องรวมคะแนน วิชา ดร 221 ....................................................สูตรที่ป้อนคือ =69+21 จากกดแป้น Enter.....................................วิธีที่ 2 : การใช้ไอคอน รวมผลอัตโนมัติ  ( ตามตัวอย่างในตาราง ) โดยวิธีการ คลิก แล้วลาก....................................................จาก 72 ถึง ช่องรวมคะแนน แล้วคลิกไอคอน 
2. การหาร้อยละของจำนวน.......ใช้วิธีการป้อนสูตรลงเซลล์ คือ =N1*100/N (ดังตารางตัวอย่าง).....................................................................จากตาราง ต้องการหา ร้อยละของจำนวนนักเรียนชาย 80 คน .....................................................................จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 190 คน
3. การหาจำนวนของร้อยละ ......ใช้วิธีการป้อนสูตรลงเซลล์ คือ = N*N1% (ดังตารางตัวอย่าง).....................................................................จากตาราง ต้องการหา จำนวนเงินที่ลด ในอัตราส่วนลด 15% จากราคาสุทธิ 650.-บาท
4. การหาเลขยกกำลัง
......................................สูตรการหาเลขยกกำลัง .....สมมุติว่า ต้องการหา...  ...เท่ากับเท่าไหร่ ?......................................วิธีการป้อนสูตรคือ =100^2 .....กด Enter ผลลัพธ์ คือ 10000
............MS- Excel มีสูตร 2 ประเภท คือ ฟังก์ชั่น (Function) และ ฟอร์มูล่า (Formula) ทั้งสองอย่างนี้เราเรียกว่า สูตร 
............Function เป็นสูตรสำเร็จรูป มาพร้อมกันกับMs - Excel เช่น ค่า Sum Max Min เป็นต้น
............การใช้ฟังก์ชั่นเพื่อการคำนวณ
Fuctionหน้าที่ /รูปแบบ/ตัวอย่างการใช้สูตร
SUMหาผลรวมของของตัวเลขตัวอย่าง Cell B5 ใส่ตัวเลข 69...............Cell B6 ใส่ตัวเลข 42...............Cell B7 ใส่ตัวเลข 36...............Cell B8 ใส่ตัวเลข 41=SUM(B5:B8) ...........ผลลัพธ์ 188
AVERAGEหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล=AVERAGE(15.2,16,13.5,12.4,18,12)
IFประมวลผลหาค่าจริงหรือเท็จ จากเงื่อนไขที่ระบุรูปแบบ =IF (เงื่อนไข, ค่ากรณีเงื่อนไขถูกต้อง, ค่ากรณีเงื่อนไขไม่ถูกต้อง) ตัวอย่าง กำหนดเงื่อนไขว่า ผลการเรียน 4 คือ นักเรียนที่ได้คะแนน
ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป (คะแนน 80 อยู่ในเซลล์ D6)
=IF(D6>=80,"4")
MAXค่าจำนวนสูงสุดรูปแบบ =MAX(N1, N2,...)=MAX(15.2,16,13.5,12.4,18,12)
STDEVค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
รูปแบบ =STDEV(
N1, N2,...)
=STDEV(15.2,16,13.5,12.4,18,12)
MEDIANค่ากลาง
รูปแบบ
=MEDIAN(15.2,16,13.5,12.4,18,12)
MINค่าต่ำสุดของจำนวนรูปแบบ =MIN (N1, N2,...)=MIN(15.2,16,13.5,12.4,18,12)
ROUNDDOWNปัดตัวเลขลงรูปแบบ =ROUNDDOWN (ตัวเลข,จำนวนหลัก)=ROUNDDOWN(12.345,2) ....ผลลัพธ์ 12.34
ROUNDUPปัดตัวเลขขึ้นรูปแบบ =ROUNDUP (ตัวเลข,จำนวนหลัก)=ROUNDUP(1234.5,-1) ....ผลลัพธ์ 12.40
ROUNDปัดตัวเลขขึ้น หรือลง
รูปแบบ 
=ROUND(ตัวเลข,จำนวนหลัก)
=ROUND(12.345,2)....ผลลัพธ์ 12.35
............การวางฟังก์ชั่น...........คลิกเมาส์ที่ ไอคอน  ..........จะปรากฎกรอบ วางฟังก์ชั่น........แต่ละฟังก์ชั่นจะมีคำอธิบายการใช้งานและรูปแบบการวางไว้

.......................1. คำนวณตัดเกรด.......................
เงื่อนไขการตัดสินผลการเรียนการสอน
ได้คะแนน 80 ขึ้นไป ............. ผลการเรียนเป็น 4
ได้คะแนน 79 - 70 
............... ผลการเรียนเป็น 3
ได้คะแนน 69 - 60 
............... ผลการเรียนเป็น 2
ได้คะแนน 59 - 50 
............... ผลการเรียนเป็น 1
ได้คะแนน 49 - 0 
................. ผลการเรียนเป็น 0
สูตรตัวอย่างที่ใช้
=IF(D5>=80,"4",IF(D5>=70,"3",IF(D5>=60,"2",IF(D5>=50,"1",IF(D5>=0,"0")))))
( คะแนนBw - Fn ของเลขที่ 1 อยู่ในเซลล์ D5 )
...2. คำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน..
กรณีตัวอย่างการหาค่า X-bar และ SD. ชั้น ม.5/1
สูตรการหาค่า X-bar

กดแป้น F2 ที่ เซลล์ L7
สูตรการหาค่า SD.

กดแป้น F2 ที่ เซลล์ M7
 

ให้ป้อนสูตรในลงเซลล์ที่ว่าง ในที่นี้คือ N7

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเขียนผังงาน

ผังงานและการเขียนโปรแกรม

ผังงาน (flowchart) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร

ผังงานกับชีวิตประจำวัน 
การทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป ดัง ตัวอย่าง 1 เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย


ตัวอย่างที่ 2 เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้ 
• อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา
• แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน


โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection ) เป็นโครงสร้างที่ใช้การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ IF - THEN - ELSE และ IF - THEN

โครงสร้างแบบ IF - THEN - ELSE เป็นโครงสร้างที่จะทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ใส่ไว้ในส่วนหลังคำว่า IF และเมื่อได้ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบก็จะเลือกว่าจะทำงานต่อในส่วนใด กล่าวคือถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ( TRUE ) ก็จะเลือกไปทำงานต่อที่ส่วนที่อยู่หลัง THEN แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ( FALSE ) ก็จะไปทำงานต่อในส่วนที่อยู่หลังคำว่า ELSE
แต่ถ้าสำหรับโครงสร้างแบบ IF - THEN เป็นโครงสร้างที่ไม่มีการใช้ ELSE ดังนั้น ถ้ามีการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่อยู่หลัง IF มีค่าเป็นจริง ก็จะไปทำส่วนที่อยู่หลัง Then แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะไปทำคำสั่งที่อยู่ถัดจาก IF - THEN แทน
ตัวอย่าง 3 การเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร A และ B แล้วทำการเปรียบเทียบในตัวแปรทั้งสอง โดยมีเงื่อนไขดังนี้
• ถ้า A มากกว่า B ให้คำนวณหาค่า A - B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT
• ถ้า A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B ให้คำนวณหาค่า A + B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT







วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการเขียนโครงงานอย่างย่อเล่ม

การเขียนรายงานโครงงาน
        เป็นการนำเสนอผลของการศึกษาในรูปแบบของการเขียนรายงาน  ซึ่งแสดงถึงขั้นตอนวิธีการทำโครงงาน  ผลของการศึกษาและการอภิปรายสรุปผลการศึกษา  โดยรูปแบบของการเขียนรายงานประกอบด้วย
1. ปกหน้า
                                                      

2. ปกใน
                                                    
3. บทคัดย่อ
          อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน  วัตถุประสงค์  วิธีดำเนินการ  และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อ  เช่น 
 บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  แผ่นปูนซีเมนต์จากชานอ้อย
คณะผู้จัดทำ
1.   ด.ญ. ขนิษฐา      อุทธา  เลขที่  23 ชั้น ม. 3/1
2.   ด.ญ. พรพระเทพ    เลี่ยมชาญชัย  เลขที่  24 ชั้น ม. 3/1
3.   ด.ญ. วิภาวรรณ เชื้อทอง  เลขที่  25 ชั้น ม. 3/1
4.   ด.ญ. กิตติมา หว่างบุญ  เลขที่  35 ชั้น ม. 3/1
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
รายวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์  (30203)    ปีการศึกษา  2549
          โครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  แผ่นปูนจากชานอ้อย  จัดทำขึ้นเพื่อหาวัสดุทดแทนในการผลิตแผ่นปูนซีเมนต์  เป็นการลดการใช้ทรัพยากรประเภท กรวด ทราย ซึ่งมีปริมาณลดน้อยลง  อีกทั้งเป็นการนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์อีกครั้ง  ในการทดลองครั้งนี้ได้นำชานอ้อย    มาเป็นส่วนผสม  โดยการตัดชานอ้อยแห้งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณครึ่งนิ้ว  จากนั้นนำปูนซีเมนต์  ชานอ้อย  ทรายและน้ำ มาผสมในอัตราส่วนต่างๆ แล้วเทใส่บล็อก  นำไปตากให้แห้ง  ตรวจสอบคุณภาพของแผ่นปูนซีเมนต์ชานอ้อย  พบว่าอัตราส่วนระหว่างปูนซีเมนต์  ชานอ้อย  ทรายและน้ำ ในอัตราส่วน  10 : 1  :  5  :  10  เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด  ทนต่อแรงกระแทกขนาด 20 นิวตัน ในระดับความสูง 5 เมตรได้  แผ่นปูนที่ได้มีลักษณะผิวค่อนข้างเรียบ  ดังนั้นผลการทดลองไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า  ถ้าอัตราส่วนของวัสดุที่ใช้ผสมมีผลต่อคุณภาพของแผ่นปูนซีเมนต์  ดังนั้น อัตราส่วนที่ดีที่สุดคืออัตราส่วนที่มีส่วนผสมของวัสดุเท่าๆ กัน  กล่าวคือ  การทดลองที่ใช้ส่วนผสมในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน ปรากฏว่า  เนื้อของแผ่นปูนไม่เรียบ  สามารถใช้มือบิให้แตกออกจากกันได้  ส่วนอัตราส่วนที่ดีที่สุดนั้นมีความแข็งแรงสามารถใช้ในการปูรองบนพื้นได้  แต่ยังไม่แข็งแรงพอที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างผนังอาคาร  และปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ชานอ้อยจะดูดซับน้ำได้มาก  ทำให้แผ่นปูนแห้งก่อนที่จะเกาะตัวกัน  จึงต้องนำชานอ้อยแห้งแช่น้ำปูนซีเมนต์ก่อนที่จะทำการผสม  ดังนั้นถ้าจะนำชานอ้อยไปใช้เป็นวัสดุทดแทน จึงต้องพัฒนาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อไป  หรือหาวัสดุอื่นที่ไม่ดูดซับน้ำมาทดแทน
4. กิตติกรรมประกาศ
            เขียนบรรยายแสดงความขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
                                                                    กิตติกรรมประกาศ
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นปูนซีเมนต์จากชานอ้อยในครั้งนี้  คณะผู้จัดทำได้รับความอนุเคราะห์จากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ในการให้ยืมอุปกรณ์การทดลอง  นักการภารโรงที่ช่วยต่อแบบพิมพ์ สำหรับหล่อแผ่นปูน  และบุคคลที่ทำให้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี  สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำโครงงานได้  อีกทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการทำโครงงานอย่างเป็นกันเอง คือ ครูจันทิมา  สุขพัฒน์  รวมทั้งผู้ปกครองของเพื่อนในกลุ่ม และคุณพ่อคุณแม่ของข้าพเจ้า  ที่ให้การสนับสนุนในด้านของงบประมาณและการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ  คณะผู้จัดทำโครงงานจึงขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงมา  ณ โอกาสนี้
5. สารบัญ
6. บทที่  1  บทนำ

    6.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          อธิบายความสำคัญของโครงงาน  เหตุผลที่เลือกทำโครงงานเรื่องนี้  และหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน  เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นเคยศึกษามาแกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แล้วถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร  และเรื่องที่ทำนี้เป็นการขยายผลหรือปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้แล้วอย่างไรบ้าง
    6.2 จุดประสงค์ของโครงงาน
    6.3 สมมติฐาน
    6.4 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
          6.4.1 นิยามเชิงปฏิบัติการ
          6.4.2 ข้อจำกัดในการศึกษา / ทดลอง
7. บทที่  2   เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
          เป็นการเขียนข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน  โดยการสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง  หรือคัดลอกข้อความจากหนังสือ  โดยถ้าเป็นการสรุปองค์ความรู้เป็นของตนเอง  ต้องอ้างอิงเอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงาน  แต่ถ้าเป็นการคัดลอกข้อความนั้นมา โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหา  ให้อ้างอิงในการเขียนด้วย  ซึ่งการอ้างอิงที่เป็นที่นิยมคือ การอ้างอิงแบบนาม ปี  และควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย  จากนั้นต้องอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงานด้วยเช่นกัน
         
ตัวอย่างการอ้างอิงแบบนาม ปี เช่น
          พิมพันธ์  เดชะคุปต์  (2550 : 47)  ได้ให้ความหมายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ว่า  เป็นการศึกษาเพื่อค้นพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ด้วยตัวของนักเรียนเอง และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา
8. บทที่  3   วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
    8.1 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
    8.2 วิธีดำเนินการ / วิธีทดลอง  
          อธิบายขั้นตอนการดำเนินการหรือขั้นตอนการทดลองโดยละเอียด
9. บทที่  4   ผลการสำรวจ / ศึกษา / ผลการทดลอง
         นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรวบรวมข้อมูล  หรือจากการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้  รวมทั้งเสนอผลงานการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย ซึ่งอาจนำเสนอในรูปแบบของตาราง  แผนภาพ  แผนภูมิต่างๆ ก็ได้
10. บทที่  5   อภิปรายผลและสรุปผลการสำรวจ
          การอภิปรายผล  เป็นการนำหลักการ ทฤษฎีที่ได้สืบค้นมาในบทที่ มาอธิบายสนับสนุนผลของการทดลองที่เกิดขึ้นว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น  ทำไมไม่เป็นอย่างนี้  โดยการอภิปรายผลจากการวิเคราะห์  มีความสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ  แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับแนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  อภิปรายถึงจุดอ่อนของการทำโครงงาน  องค์ประกอบที่ไม่ได้ควบคุมที่มีอิทธิพลต่อผลการศึกษาในการทำโครงงาน  และอภิปรายถึงความสำคัญของผลการศึกษา  
          การสรุปผล  เป็นการสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน  ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุไว้ด้วยว่า  ข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้ 
11. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม
          เป็นการอ้างอิง  อ้างถึงหนังสือและหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้
ตัวอย่าง  การเขียนรายการอ้างอิงหนังสือ
พิมพันธ์  เดชะคุปต์.  การสอนคิดด้วยโครงงาน.  ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2550.

บทบาทของคอมพิวเตอร์

เหตุผลที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น คือ
1 . คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยซึ่งสามารถตรวจสอบประ วัติของบุคคลต่างๆได้ เป็นต้น
2 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว งานบางอย่างคอมพิวเตอร์จะทำได้ในพริบตาในขณะที่ถ้าให้คนทำอาจจะต้องใช้เวลานา น
3 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
4 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมทำงานที่ถูกต้อง จะไม่มีการทำงานผิดพลาดขึ้นมา
5 .คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบคนได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 

 บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ 
1 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น เป็นต้น

ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น


วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อธิบายประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

1. ชื่อโครงงาน
ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย
การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ “ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย” ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหารได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า “การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก” หรือ “ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน” ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย
4. บทคัดย่อ
อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้
ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ
(ถ้าใช้โปรแกรม Microsoft Word ในการพิมพ์สามารถตรวจสอบจำนวนคำจาก
เมนูเครื่องมือ เลือกคำสั่งนับจำนวนคำ...)
5.  กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
                    ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย
ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย   
 
          6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                    ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
                    - แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
                    - แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
                    - ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ          สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป
                    การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
                    ส่วนที่ 1 คำนำ :
                         เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์
                    ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
                         อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้
                    ส่วนที่ 3 สรุป :
                         สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1   
          7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
                    วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ     ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ   
          8. สมมติฐานของการศึกษา
                    สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน   ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ  ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว   
          9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
                    ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา
                    1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด  รวมทั้งกำหนด             กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา
                    2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของ     ตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการ   ทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็น    ตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและ      ผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน   
          10. วิธีดำเนินการ
                    วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำ      โครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
                    1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
                    2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
                    3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
                    4. การวิเคราะห์ข้อมูล
                    ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง   
          11. ผลการศึกษาค้นคว้า
                    นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล
การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย   
 
                   
          12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
                   อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูล    
ที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้    อกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผล
การทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาด
บางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษา
ค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย   
                   
          13. เอกสารอ้างอิง
                    เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงาน      วิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลัการ          ที่นิยมกัน   


ส่วนประกอบของโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. บทคัดย่อ
5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
8. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
10.วิธีดำเนินการ
11.ผลการศึกษาค้นคว้า
12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
13. เอกสารอ้างอิง

ลำดับการสอบโครงงาน

1 ศึกษาหัวข้อโครงงาน
2 หาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน
3 จัดทำโครงงาน
4 ทดสอบโครงงาน
5 แก้ไขและจัดเก็บรายละเอียดโครงงาน
6 จัดทำรูปเล่มโครงงาน
7 นำเสนอและสอบอนุมัติ


โปรแกรมที่ใช้
เวิร์ด
เพาเวอร์พ้อยท์
เอ็กเซล
แอกเซส
โฟโต้ชอพ/เพ้น

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงาน

โครงงานคืออะไร
โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆสำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานในกลุ่มสาระนั้นๆ
สำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ คือ
1. เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา
2. นักเรียนก็ตอบปัญหาชั่วคราว (สมมุติฐาน)
3. นักเรียนจะต้องออกแบบการทดลอง เพื่อพิสูจน์ปัญหาว่าจริงหรือไม่
4. ทำการทดลอง หรือศึกษาค้นคว้าเพื่อสรุปผล
4.1 ถ้าคำตอบไม่ตรงกับสมมุติฐาน ก็ตั้งสมมุติฐานใหม่ และทำข้อ 3 ข้อ4 จนเป็นจริง
4.2 เมื่อคำตอบตรงกับสมมุติฐาน ก็จะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ และเกิดคำถามใหม่
5. นำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์
ในการที่นักเรียนจะทำโครงงานในกลุ่มสาระใด นักเรียนจะเป็นผู้ที่เลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบ ประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการแปรผล สรุปผล และการเสนอผลงาน โดยตัวนักเรียนเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมที่จัดว่าเป็นกิจกรรมโครงงานจะต้องประกอบด้วย
1. เป็นกิจกรรมที่มีเนื้อหาสาระตามกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ
2. นักเรียนจะต้องเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจและระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละวัย
3. เป็นกิจกรรมที่มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยในการศึกษาค้นคว้า เพื่อตอบปัญหาที่สงสัย
4. นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล หรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งแปรผล สรุปผล และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น
ในการทำโครงงานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ควรจะมีระยะเวลา และวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนนัก และควรเป็นไปตามระดับสติปัญญาของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นด้วย
การสอนให้นักเรียนได้เรียนการจัดทำโครงงานนั้นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญและมีความมั่นใจ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ยังให้คุณค่าอื่นๆ คือ
1. รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนที่หลงเชื่อ
งมงายไร้เหตุผล
2. ได้ศึกษาค้นคว้า หาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการสอน
ของครู
3. ทำให้นักเรียนได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเอง
4. ทำให้นักเรียนสนใจเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ มากยิ่งขึ้น
5. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ประเภทของโครงงาน
เนื่องจากโครงงาน คือ การแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเนื้อหาหรือข้อสงสัยตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด ก็จัดเป็นโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ จึงแบ่งโครงงานตามการได้มาซึ่งคำตอบของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล
2. โครงงานประเภททดลอง
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานประเภททฤษฎี

โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล
โครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานเพียงต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน
การสำรวจและรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายรูปแบบแล้วแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ เช่น
๔ สำรวจคำราชาศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๔ สำรวจชื่อพืชเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
๔ สำรวจคำศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
๔ สำรวจชนิดของกีฬาท้องถิ่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
๔ สำรวจวิธีบวกเลขที่ชาวบ้านนิยมใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ในการทำโครงงานประเภทสำรวจข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องนักเรียนเพียงแต่สำรวจรวบรวมข้อมูลที่ได้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่และนำเสนอ ก็ถือว่าเป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลแล้ว

โครงงานประเภททดลอง
ในการทำโครงงานประเภททดลอง ต้องมีการจัดการกับตัวแปรที่จะมีผลต่อการทดลอง ซึ่งมี 4 ชนิด คือ
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ หมายถึงเหตุ ของการทดลองนั้นๆ
2. ตัวแปรตาม ซึ่งจะเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น
3. ตัวแปรควบคุม หมายถึง สิ่งที่ต้องควบคุมให้เหมือนๆ กัน มิฉะนั้นจะมีผลทำให้ตัวแปรตามเปลี่ยนไป
4. ตัวแปรแทรกซ้อน ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ ตัวแปรควบคุมนั่นเอง แต่บางครั้งเราจะควบคุมไม่ได้ ซึ่งจะมีผลแทรกซ้อน ทำให้ผการทดลองผิดไป แต่ก็แก้ไขได้โดยการตัดข้อมูลที่ผิดพลาดทิ้งไป
ตัวอย่างเช่น นักเรียนต้องการศึกษาว่า กระดาษชนิดใดสามารถพับเครื่องร่อนและปาได้ไกลที่สุด
ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ ชนิดของกระดาษ
ตัวแปรตาม คือ ระยะทางที่กระดาษเคลื่อนที่ได้
ตัวแปรควบคุม คือ แรงที่ใช้ปากระดาษ ความสูงของระยะที่ปา
ตัวแปรแทรกซ้อน คือ บางครั้งในขณะปามีลมพัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้ข้อมูลผิดพลาด เป็นต้น

โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่มาประดิษฐ์หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากมาย ผุ้เขียนจะรวมถึงการเขียนหนังสือ แต่งเพลง สร้างบทละครและอื่นๆ ไว้ในโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้วย เช่น การประดิษฐ์ไม้ปิงปองแบบใหม่ การหาวัสดุมาติดไม้ปิงปองแล้วตีได้ดีขึ้น การแต่งบทประพันธ์ การเขียนหนังสือประกอบการเรียนแทนหนังสือเรียนที่ใช้กันอยู่ การออกข้อสอบเพื่อให้เพื่อนๆ ใช้สอบแทนข้อสอบที่ครูออกข้อสอบ เป็นต้น

โครงงานประเภททฤษฎี
โครงงานประเภททฤษฎี เป็นการใช้จินตนาการของตนเองมาอธิบายหลักการหรือแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอธิบายในรูปของสูตรหรือสมการ หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่สามารถอธิบายได้โดยหลักการเดิมๆ
การทำโครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ จึงไม่เหมาะที่จะทำในระดับนักเรียนมากนัก
I ขั้นตอนในการสอนโครงงาน
1. การเลือกเรื่องที่จะให้นักเรียนทำโครงงาน
การที่ครูจะสอนนักเรียนโดยบอกความรู้ให้นักเรียนหรือให้นักเรียนฝึกหาความรู้จากปฏิบัติการ (LAB) เดิมๆ เสมอไปคงจะไม่ถูกต้องนัก ครูควรจะสอนให้นักเรียนได้รับกระบวนการหาความรู้หรือที่เรียกว่า ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งก็ควรจะเป็นการสอนด้วยโครงงาน
การเลือกหัวข้อโครงงานให้นักเรียนศึกษาง่ายที่สุด คือ ให้นักเรียนไปสำรวจรวบรวมข้อมูลจากเรื่องที่เราจะสอนนักเรียน ตัวอย่างโครงงาน
- รวบรวมลักษณะทั่วไป ส่วนประกอบและบริเวณที่ขึ้นของพืชรอบๆตัว
- รวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ และพืช
- รวบรวมคำราชาศัพท์ที่มีใช้ในชีวิตประจำวัน
- รวบรวมลักษณะของเปลือกโลก
- รวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากสินค้า
2. ออกแบบการทำงาน
ครูอาจจะนำหัวเรื่องที่เขียนไว้ให้นักเรียนเลือกหัวเรื่องที่จะศึกษา แล้วนำหัวเรื่องที่เราต้องการสอนมาวิเคราะห์ และควรมีแนววิเคราะห์ของผู้สอนเอง แต่อาจใช้แบบวิเคราะห์ตรงๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ชื่อเรื่อง
2. ผู้ทำโครงงาน
3. ปัญหาหรือเหตุจูงใจในการทำงาน
4. ตัวแปร (ถ้ามี) ประกอบด้วย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6. แหล่งข้อมูลที่นักเรียนจะศึกษา
7. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษากี่วัน และศึกษาช่วงเวลาใด
8. นักเรียนต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายใดบ้าง หาจากแหล่งใด

การลงมือทำโครงงาน
มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าอย่างไร ทำอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร

การเขียนรายงาน
นักเรียนเขียนรายงานการทำโครงงาน ในรายงานการทำโครงงานอาจเขียนตามหัวข้อที่กำหนด หรือมีสิ่งอื่นที่ต้องการบอให้ทราบ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้

การนำเสนอโครงงาน
การนำเสนอโครงงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะสะท้อนการทำงานของนักเรียน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ทำ การตอบข้อซักถาม บุคลิกท่าทาง ท่วงท่า วาจา ไหวพริบปฏิภาณ นักเรียนควรได้รับการฝึกบุคลิกภาพในการนำเสนอให้สง่าผ่าเผย พร้อมทั้งฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ฟังที่มีมารยาทในการฟังด้วย

การวัดผล ประเมินผล
ประเมินผลการทำงาน โดยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงาน วัดผลตัวความรู้โดยการซักถาม หรือวิธีการอื่นๆ ควรให้นักเรียนมีการประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อน ครู และผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นๆ ที่มาเยี่ยมชม

บทบาทของครูที่ปรึกษาโครงงาน
1. ใช้วิธีการต่างๆ ที่จะกระตุ้นให้นักเรียนคิดหัวข้อโครงงาน
2. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน
3. ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด เด็กวัยประถมศึกษาควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่ง
สำคัญ
4. ให้กำลังใจในกรณีที่ล้มเหลว ควรแก้ปัญหาต่อไป
5. ชี้แนะแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ ผู้รู้ เอกสารต่างๆ ในการศึกษาค้นคว้า
6. ประเมินผลงาน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จัดเวทีให้แสดงความรู้ ความสามารถ

การนำเสนอผลงานโครงงาน
การให้นักเรียนผู้ทำโครงงานได้เสนอผลงาน เป็นการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก เชื่อมั่นในผลงาน ตอบข้อซักถามของผู้สนใจได้ การเสนอผลงานมีหลายลักษณะ คือ
1. บรรยายประกอบแผ่นใส สไลด์ Power point
2. บรรยายประกอบแผงโครงงาน
3. จัดนิทรรศการ

แนวการประเมินผลโครงงาน
1. ความคิดสร้างสรรค์
2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. การนำเสนอด้วยวาจา
4. การตอบคำถาม
5. แผงโครงงาน การนำเสนอ

การเขียนรายงานโครงงาน
การเขียนรายงานโครงงาน เป็นการเสนอผลงานที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้ามาโดยตลอดจนงานเสร็จสมบูรณ์ หัวข้อในการเขียนโครงงานมีดังนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน / โรงเรียน / พ.ศ. ที่จัดทำ
3. ชื่อครูที่ปรึกษา
4. บทคัดย่อ (บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ประกอบด้วย เรื่อง / วัตถุประสงค์ / วิธีการศึกษา / สรุปผล)
5. กิตติกรรมประกาศ (แสดงความขอบคุณบุคคล หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ)
6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
7. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
8. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
9. วิธีการดำเนินการ
10.ผลการศึกษาค้นคว้า
11.สรุปผล
12.ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ
13.เอกสารอ้างอิง